The Last Hackintosh (1) - เมื่อต้องเลือกระหว่าง Ryzen กับ M1

Manassarn Manoonchai
2 min readDec 27, 2020

--

ผมวางแผนเอาไว้ว่า สิ้นปี 2020 นี้จะประกอบ Hackintosh ใหม่อีกตัวหนึ่ง เพราะตัวเก่า CPU ช้าลงมากแล้ว (Intel Core-i5 6500 “Skylake”)

Hackintosh Skylake

เทียบกับ Macbook Pro Mid 2019 ของที่ทำงาน ก็ช้ากว่าแล้ว

MBP Mid 2019

Ryzen 5000 Series

ในวงการ Hackintosh ฝั่ง AMD นั้นมาแรงมาก ทั้งในส่วนของตัวซีพียูเอง และการซัพพอร์ตของ Custom Bootloader อย่าง OpenCore ก็รองรับ Ryzen แล้วในหลายๆ รุ่น (เมื่อก่อนตัวที่ฮิตกันจะเป็น Clover กับ UniBeast)

เหตุผลนึงที่ยอมรอถึงสิ้นปี เพราะว่าใน Q4 ทาง AMD นั้นจะออกรุ่น 5000 Series หรือว่า Zen 3 Architecture ที่แรงมากขึ้นอีก และรอสัก 1–2 เดือนดูว่าจะใช้กับ Hackintosh ได้หรือไม่ ซึ่งผลก็ออกมาแล้วว่าใช้ด้วยกันได้ บางคนซื้อแค่ CPU มาเปลี่ยนก็ใช้ต่อได้ทันที ไม่ต้องปรับอะไรเพิ่มเลย

Lisa Su aka. “เทพีแห่งความมั่งคั่ง”

ในขณะที่ทุกอย่างดูเป็นใจต่อการประกอบคอมใหม่ ก็เกิดสิ่งที่ไม่คาดฝันขึ้น

Apple M1

ข่าวคราวของ Apple Silicon หรือว่าเครื่องแมคที่ใช้ชิป ARM นั้นมีมาตั้งแต่ต้นปีแล้ว ทุกคนรู้ และคาดเดากันไปว่า มันไม่น่าจะมีอะไรมาก จนกระทั่งแอปเปิลประกาศและวางขาย Macbook / Mac Mini ที่ใช้ชิป M1 ออกมา นักรีวิวต่างบอกว่ามันแรงเหนือความคาดหมายไปมาก หลายคนที่บอกว่าจะรอรุ่นถัดไป (น่าจะเป็น M2) ต่างกลืนนำ้ลายตัวเองและมือลั่นกด M1 กันเต็มไปหมด 😂

ตัวอย่างรีวิว M1

ด้วยความแรงระดับที่ Intel Macbook Pro อัปสเปคเต็มยังแพ้ Macbook Air M1 นั้นทำให้จุดเด่นหลักของ Hackintosh ที่มีมาตลอด นั้นแทบจะหายไปเลย คือความคุ้มราคา นับว่า M1 เป็นจุดเปลี่ยนจริงๆ (RIP Intel)

คะแนน Geekbench ของ Mac Mini M1 ในราคาสองหมื่นต้นๆ

แล้วทำไมถึงยังเลือก Ryzen Hackintosh ล่ะ?

Hackintosh for the Hacking’s sake

ถึง M1 จะดีขนาดไหน ในฝั่งของการ Develop Software หรือการใช้งานที่มากกว่าคนทั่วไป ก็ยังมีจุดที่ยังไม่พร้อมอยู่ และผมจำเป็นที่จะต้องรอให้มันพร้อมมากกว่านี้อีกหน่อย อย่างเช่น Docker, Homebrew ที่ต้องมีท่าพิเศษที่ต้องรันเพิ่มเติม หรือยังมีบางอย่างที่ยังไม่ Support เต็มร้อย หรือบางแอปที่ต้องรอผู้พัฒนาทำให้มันใช้บน M1 ได้อย่างสมบูรณ์

Yabai wm ยังใช้ไม่ได้ (ณ ต้นเดือน 12/2020)

และอีกอย่างที่สำคัญกว่า คือผมอยากลองใช้ AMD + OpenCore เป็นการทิ้งทวนในการทำ Hackintosh เป็นครั้งสุดท้าย (ยกเว้นว่าจะมี Hackintosh on ARM หรือมี Custom ARM SoC ออกมาขายแยก ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของอนาคต)

ความรู้สึกในการ Custom Hackintosh จนมันใช้งานทั่วไปได้ คงไม่ต่างกับการพยายามรัน Homebrew หรือ Docker และทะเลาะกับ Rosetta 2 มากเท่าไรนัก

แต่ถ้าที่ทำงานจะเบิก Macbook M1 ให้ ก็ยินดีใช้นะครับ 😛

รอติดตามตอน 2 กับการเลือก Hardware สำหรับ Ryzen Hackintosh ได้เร็วๆ นี้

Update : ตอนที่ 2

--

--

Responses (2)