The Last Hackintosh (3) - งานประกอบ + งานแก้

Manassarn Manoonchai
4 min readDec 31, 2020

(ต่อจากตอนที่ 1, ตอนที่ 2)

[คำเตือน : รูปเยอะมาก!]

เมื่อของมาครบแล้ว ก่อนที่จะเริ่มประกอบตัวใหม่ ต้องแงะของเก่าออกมาก่อน ซึ่งสิ่งที่จะใช้จากเครื่องเก่ามี M.2 SSD, แรม, การ์ดจอ และ AIO Cooler

ฝุ่นเยอะมาก ต้องเอาออกมาเป่าและแยกส่วนนอกตัวบ้าน
NVMe อยู่หลัง Mainboard ลืมเอาออก

ลองเอาตัวเคสใหม่เทียบกับเคสเก่า มีขนาดเล็กกว่านิดหน่อยทั้งความกว้าง ยาว สูง

Cougar QBX vs ZZAW B2+

1. Case + Mainboard

ตัวถาดวาง Mainboard นั้นสามารถแกะออกมาได้ และเลือกปรับระดับได้ เพื่อเลือกว่าจะให้มีที่ว่างทางด้านบนหรือด้านล่าง ในที่นื้ผมจะให้มีที่ว่างด้านบน เพื่อติดตั้ง AIO

ด้านซ้ายใช้ติดตั้ง Power Supply และด้านขวาติดตั้ง Mainboard ส่วน GPU จะอยู่ด้านหลัง

ต่อมาก็ติดตั้ง CPU ลงไปเลย

ต่อด้วย M.2 NVMe SSD ซึ่งใส่ได้สองอัน ผมเลือกใส่อันเดียวที่ด้านหน้า ตัวนี้มี Heatsink ด้วย ให้ถอดออกแล้วติดตั้ง SSD ลงไป

Heatsink ระบายความร้อนจาก M.2
ถอดออกมา แล้วติดตั้งตัว NVMe SSD
อย่าลืมแกะเทปออกจาก Heatsink ด้วย (สติ๊กเกอร์บน SSD ผมไม่แน่ใจว่าต้องแกะหรือเปล่า แต่เพื่อความชัวร์เลยแกะซะเลย)
ประกอบ Heatsink กลับเข้าเหมือนเดิม อย่าขันน็อตแน่นเกินไปเดี๋ยว SSD จะงอเกิน

จากนั้นทำการติดตั้ง RAM แล้วก็ประกอบเข้ากับถาดของเคสเลย เปลี่ยนน็อตสำหรับยึด AIO Cooler ด้วยถ้ามี

แล้วก็ติดตั้ง Power Supply และเริ่มเสียบสายไฟต่างๆ

เนื่องจาก Power Supply เป็นแบบ SFX และ Modular สายที่ให้มาจึงไม่ยาวเกินไป

2. การ์ดจอ

ติดตั้งการ์ดจอกับ Riser ที่แถมมากับเคส

เลื่อนสลักสีขาวทางด้านขวาออก ใส่การ์ดจอลง Slot แล้วเลื่อนกลับเพื่อล็อกให้อยู่กับที่

พาดสาย Riser ด้านหลังการ์ดจอ แล้วอ้อมขึ้นไปเสียบบนพอร์ต PCI-E ของ Mainboard

จากนั้นจึงใช้น็อตยึดตัว Riser เข้ากับถาดของเคส

ยึดการ์ดจอกับตัวถาดเคสด้านหลังเป็นอันเสร็จขั้นตอน

วางตั้งได้พอดีเลย
อีกด้าน

พอถึงตอนนี้ก็เอาถาดกับเข้าไปประกอบในเคสได้เลย แล้วก็พบว่าใส่ไม่ได้เพราะสายเริ่มติด แก้ไขโดยการเอา Power Supply ออกจากถาดชั่วคราว หรือถอดสายก่อน แล้วค่อยใส่อีกครั้งหลังจากใส่ถาดเข้าไปในเคสแล้ว

3. AIO Cooling

ต้องติด Bracket ที่แถมมากับตัวเคสเข้ากับ Radiator ของ AIO ก่อน แล้วจะสามารถยึดกับตัวเคสได้

เสร็จแล้วนำไปติดทางด้านบนสุดของเคส และติดพัดลมให้เป่าออกด้านบน

ติดหัวปั๊มลงบน CPU (อย่าลืมทา Silicone บนตัว CPU ก่อน) และจัดสายให้เรียบร้อย

เสร็จแล้ว! ทำการบูตแล้วเข้า BIOS ได้เลย

แต่แล้วก็มีปัญหาเกิดขึ้น…

WTF!

เกิดปัญหาพัดลมเป่าแรงมาก แต่ความร้อนไม่ลดลง พุ่งจนถึง 100 องศาแล้วเครื่องดับ ทั้งที่ยังอยู่ใน BIOS ไม่ได้ใช้งานอะไร และลองจับตัวท่อและซิงก์ดู ไม่มีความร้อนเลย

สรุปว่า AIO ได้จากเราไปแล้วครับ ปั๊มน่าจะพัง คาดว่าอาจจะใกล้พังต้ังแต่ก่อนอัปเกรดแล้ว เพราะวางในจุดที่ไม่ค่อยดีนัก

แงะเล่นแม่มเลย 555

4. New AIO

ด้วยความหัวร้อนเลยกด AIO Cooler แบบส่งด่วน 2 ชั่วโมงมาใหม่ ของมาห้าทุ่มเศษๆ

ของ CoolerMaster มี RGB ด้วยคราวนี้

หลังจากที่ทำการติดตั้ง AIO ตัวใหม่อีกเกือบชั่วโมง และลองเปิด BIOS ดูใหม่ น่าจะใช้ได้ละ

หัวไม่ร้อนแล้ว 555

อัปเดตค่าเสียหายเพิ่มเติม

เกินสามหมื่นจนได้

Complete!

สรุปแล้วใช้เวลาตั้งแต่บ่ายจนเกือบเที่ยงคืนถึงประกอบเสร็จ สิ่งที่ยากที่สุดคือการจัดสาย เพราะการใช้เคสแบบ Mini-ITX นั้นจะมีที่ให้น้อยมากๆ

อันที่จริงแล้วเจ้าเคส ZZAW B2+ นี้ยังมีที่ว่างใต้ Power Supply ให้ติดตั้งพัดลม 120mm เพื่อดูดลมเข้าจากด้านล่างได้ แต่อาจจะต้องแก้ไขการวางของ Power Supply ให้สายไปอยู่ด้านบนแทน ซึ่งแปลว่าต้องรื้อออกมา Rewire ใหม่ทั้งหมด เลยคิดว่ายังไม่ทำดีกว่า และระดับอุณหภูมิโดยเฉลี่ยตอนนี้ก็ยังอยู่ในระดับที่โอเคอยู่ (Idle 45–55 องศา)

ฝาข้างที่ดูยังไงก็ไม่สวย 🤣

ในตอนหน้า (น่าจะเป็นตอนสุดท้าย) เราจะทำการลง macOS ในเครื่องนี้กัน ด้วย OpenCore โปรดติดตามชม

Update ตอนที่ 4

--

--