The Last Hackintosh (4) - ลง macOS Big Sur ผ่าน OpenCore

Manassarn Manoonchai
3 min readJan 9, 2021

--

(ต่อจากตอนที่ 1, ตอนที่ 2, ตอนที่ 3)

หลังจากที่ประกอบเครื่องเสร็จแล้ว ก็ได้เวลาติดตั้ง macOS กันเสียที ซึ่งในปัจจุบันตัวที่ได้รับความนิยมจะเป็น OpenCore (ก่อนหน้านี้จะเป็น Clover, UniBeast) ซึ่ง OpenCore นั้นจะรองรับ AMD Ryzen ได้ดีที่สุดด้วย

OpenCore

Guide ที่ผมใช้เป็นหลักจะมาจากเว็บนี้ https://dortania.github.io/OpenCore-Install-Guide ซึ่งจะครอบคลุมตั้งแต่การเลือก Hardware จนถึงการแก้ปัญหาการติดตั้ง และหลังการติดตั้ง (Post-Install) ขั้นตอนคร่าวๆ มีดังนี้

เตรียม USB Installer

เริ่มจากการเตรียม Flash Drive ที่มีขนาดอย่างน้อย 16 GB แล้ว Format ให้เรียบร้อย สิ่งที่จะต้องใส่ใน Drive จะมีสองอย่าง

  1. Official macOS Installer เวอร์ชั่นที่ต้องการ เช่น Big Sur โดยจะโหลดจากเว็บ Apple ได้โดยตรง หรือถ้าใช้แมคอยู่แล้ว ให้โหลดจาก Mac App Store ได้เลย แล้วทำการสร้าง USB Installer โดยดูจาก OpenCore Guide : USB Creation โดยจะมีขั้นตอนสำหรับการสร้าง USB จากทั้ง Mac, Windows และ Linux
  2. OpenCore : เมื่อเราติดตั้ง macOS Installer เสร็จแล้ว ตัว USB จะมีอีก Partition ขึ้นมา ชื่อว่า EFI ให้เราทำการ Mount แล้วก็อปไฟล์ของ OpenCore เข้าไป
โครงสร้างไฟล์ของ OpenCore

3. รวบรวมไฟล์ Kext และ SSDT ต่างๆ ซึ่งจะขึ้นกับ Hardware ที่เรามี โดยดูจาก https://dortania.github.io/OpenCore-Install-Guide/ktext.html

  • Kext หรือ Kernel Extension เป็นเหมือนกับไฟล์ Driver ที่เราต้องเพิ่มเข้าไปเพื่อให้ Hackintosh ทำงานกับ Hardware แต่ละชนิดได้ ส่วน SSDT จะเป็นเรื่องของ Mainboard และ CPU เป็นหลัก
  • โดยส่วนตัว ตรงนี้จะเป็นจุดที่ต้องทำการ Trial and error เพราะถ้าเซ็ตผิดก็จะมีโอกาสที่บูตไม่ขึ้นเลย ผมจึงใช้วิธีการดูจากเว็บต่างๆ และลอกสเปคมาแก้ไขต่อ เช่นค้นหา Hackintosh b550 บน GitHub

4. แก้ไขไฟล์ config.plist อันนี้ก็ลอกคนอื่นมาแก้เหมือนกัน ยกเว้นในส่วนของ PlatformInfo ที่ต้องสุ่ม Serial เองด้วย และทำการเลือกว่าจะจำแลงตัวเป็นแมครุ่นไหน ของผมใช้ iMacPro1,1 เนื่องจากเขาบอกว่าสนับสนุนการ์ดจอ RX 580 ได้ดี

ผมทำการแบคอัป EFI เอาไว้บน GitHub ด้วยเช่นกันสามารถโหลดไปแก้ไขต่อได้เลย https://github.com/narze/hackintosh-rog-strix-b550i-gaming

เซ็ต BIOS

การเซ็ต BIOS นั้นจะขึ้นกับตัว CPU ที่ใช้ด้วย อย่างเช่น AMD Ryzen แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคือปิด Fast boot, Secure boot, VT-d ซึ่งถ้าใช้ CPU รุ่นอื่นๆ ควรอ่านของรุ่นที่ตรงกัน

เริ่มติดตั้ง

เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วก็เสียบ USB แล้วทำการติดตั้งได้เลย เมื่อทำการบูทแล้วจะเจอกับ OpenCore Boot Menu

หน้าตาประมาณนี้

ให้ทำการเลือกชี่อ Drive ที่สร้างในขั้นตอนการสร้าง USB แล้วถ้าสำเร็จ จะขึ้นหน้าจอติดตั้ง macOS เหมือนปกติ

เมื่อทำการติดตั้งเสร็จ ยังไม่ต้องถอด USB ออก เพราะว่ายังต้องใช้ในการบูตอยู่ ถ้าโชคดีเราจะเข้าใช้ macOS ได้แล้ว

ภารกิจเสร็จสิ้น (เครื่องมองเห็นเป็น Intel เฉยเลย)

รีวิวการใช้ OpenCore และ Hackintosh โดยรวม

จากที่เคยติดตั้ง และใช้งาน Hackintosh มาหลายปี นับตั้งแต่แถวๆ 10.10 Yosemite หรือ 10.11 El Capitan จำไม่ได้ รู้สึกว่าการทำ Hackintosh ในสมัยนี้ง่ายกว่าเดิมมาก และปัญหาที่เจอน้อยลงแบบสุดๆ

ปัญหาที่เจอกับเครื่องเก่า (Intel i5–6500 Skylake) ใช้กับ UniBeast + MultiBeast มีดังนี้

  • CPU : Intel only
  • WiFi และ Bluetooth ที่แถมมากับ Mainboard (H170) ใช้ไม่ได้ ต้องไปซื้อของ Broadcom จาก AliExpress มาเปลี่ยน และลง Kext เพิ่ม แล้วแต่ละรุ่นก็มีปัญหาต่างกันอีก (Ref)
  • การ์ดจอ ต้องใช้ Nvidia และโหลด Nvidia Web Driver มาติดตั้งถึงจะใช้ได้
  • ติดตั้งบน SSD แบบ NVMe ต้องเซ็ตอัปเพิ่ม ไม่งั้นบูตไม่ขึ้น

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ แทบไม่มีแล้วกับเครื่องนี้

  • WiFi ลง Kext itlwm ใช้ตัวที่แถมมาได้เลย
  • การ์ดจอ ใช้ Radeon ได้เลย ลง Kext Lilu + WhateverGreen
  • NVMe ใช้ได้เลย (Native Support)

ส่งท้าย

ตามที่บอกไปในหัวข้อ เครื่อง Hackintosh ตัวนี้น่าจะเป็นเครื่องสุดท้ายแล้ว เพราะว่าหลังจากนี้โลกของ macOS จะไปในทาง ARM Architecture กันหมดละ ครั้งนี้เลยขอเขียน Build Guide ไว้เป็นวิทยาทาน

ในอนาคตอันใกล้ เมื่อซอฟท์แวร์ซัพพอร์ตตัว ARM กันหมดแล้วก็คงจะถึงจุดจบของ Hackintosh (และ Intel) ยกเว้นว่าฝั่ง x86 จะงัดอะไรออกมาต่อชีวิตของตัวเองได้อีกหน่อย

ถ้าใครชอบบทความ หรือมีข้อสงสัย ทักมาคุย มาถามกันได้ใน Twitter ครับ 🙏

--

--